Barcode Technology เทคโนโลยีบาร์โค้ด
บาร์โค้ดคือ การพิมพ์สัญลักษณ์เพื่อแสดงถึงข้อความต่าง ๆ โดยปกติการพิมพ์จะพิมพ์สัญลักษณ์เป็นเส้นตรง สี่เหลี่ยมจตุรัส หรือจุด โดยระยะห่างของแต่ละจุดจะมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เทคนิคในการแปลสัญลักษณ์เหล่านี้เป็นข้อความต่าง ๆ เรียกว่า Symbology ซึ่งจะมีลักษณะหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
- การถอดรหัสเทคนิคที่ดีจำเป็นอย่างยิ่งต้องสามารถถอดรหัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่มีข้อผิดพลาดในการถอดรหัส
- ความเข้มของตัวอักษร ถ้าตัวอักษรแต่ละตัวมีความเข้มมาก ก็สามารถที่จะแสดงถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้มากขึ้นตามไปด้วย
- ความสามารถในการตรวจสอบข้อผิดพลาดระบบ Symbology ที่ดีจะต้องสามารถที่จะตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อเป็นการยืนยันว่า ข้อมูลที่อ่านขึ้นมานั้นมีความถูกต้องแม่นยำ
บาร์โค้ด ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์เมื่อมถูกใช้งานในลายๆรูปแบบ เห็นได้ง่ายใช้บาร์โค้ดเพื่อทำให้ระบบการชำระเงินที่ซูเปอร์มาร์เก็ตงานที่ใช้ได้กลายเป็นสากล และมีการใช้งานบาร์โค้ดได้แพร่กระจายไปยังงานอื่น ๆ รวมถึง Supply Chain Management SCM, Warehouse Management, Transportation Management , Package Controls, Fixed Asset Management และอีกมากมาย
Linear barcodes บาร์โค้ด แบบเส้น
1 D “หนึ่งมิติ” บาร์โค้ดที่ถูกสร้างขึ้นจากเส้นและพื้นที่ที่มีความกว้างต่างๆที่สร้างรูปแบบที่เฉพาะเจาะจง บาร์โค้ดที่นิยมใช้เชิงพาณิชย์เช่น
Code 93 มาตรฐานสากล ISO / IEC 16388 ใช้งานทั่วไป |
|
Code 128 มาตรฐานสากล ISO/IEC 15417 ใช้งานทั่วไป |
|
EAN-8, EAN-13 มาตรฐานสากล ISO / IEC 15420 ค้าปลีกทั่วโลก |
Matrix (2D) barcodes บาร์โค้ด 2 มิติ
Data Matrix มาตรฐาน ISO / IEC 16022 | |
PDF417 มีต้นกำเนิดจาก Symbol Technologies | |
QR code มาตรฐาน ISO / IEC 18004 สามารถเข้ารหัสได้หลายแบบเช่น ข้อมูล, เพลง, ภาพ, URL ที่อีเมล มาตรฐาน de facto สำหรับโทรศัพท์มือถือ นอกจากนี้ยังใช้กับ BlackBerry Messenger รหัสเหล่านี้ยังมีประเภทที่ใช้บ่อยที่สุดในการสแกนที่มีมาร์ทโฟน |
ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Barcode
กระบวนการอ่านบาร์โค้ด
อุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านบาร์โค้ดเรียกว่า เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Bar Code Scanner) เครื่องอ่านบาร์โค้ดอาศัยคลื่นแสงโดยการส่งคลื่นแสงไปยังแถบบาร์โค้ด ในระหว่างการอ่านแถบบาร์โค้ด คลื่นแสงไม่สามารถที่จะเคลื่อนย้ายออกจากแถบบาร์โค้ดได้ ดังนั้นเมื่อมีการเพิ่มความยาวของบาร์โค้ด ขนาดความสูงของเครื่องอ่านบาร์โค้ดก็จำเป็นต้องเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพื่อที่จะให้คลื่นแสงสามารถที่จะครอบคลุมแถบบาร์โค้ดทั้งหมดได้
ระหว่างการอ่าน เครื่องอ่านจะทำการวัดลำแสงที่สะท้อนกลับมาจากแถบสีดำ และบริเวณสีขาวของแถบบาร์โค้ด โดยที่แถบสีดำจะดูดซับคลื่นแสง ในขณะที่บริเวณสีขาวจะทำการสะท้อนคลื่นแสง อุปกรณ์อิเลกทรอนิคที่เรียกว่า Photodiode หรือ Photocell จะทำการแปลงคลื่นแสงที่ได้รับเป็นคลื่นไฟฟ้า หลังจากนั้นก็จะทำการแปลงคลื่นไฟฟ้าเป็นข้อมูล Digital ข้อมูลที่ได้รับจะเป็นรูปรหัส ASCII
เครื่องอ่านบาร์โค้ด
ในปัจจุบันนี้ เครื่องอ่านบาร์โค้ดสามารถแบ่งได้เป็นสี่ประเภท
- เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบปากกาเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบนี้จะมีลักษณะคล้ายปากกโดยมีแสงอยู่ที่ปลาย ในช่วงการอ่านแถบบาร์โค้ดต้องถูกคลื่นแสงส่องตลอดเวลา จุดดีของเครื่องอ่านแบบนี้ คือราคาไม่แพงและมีน้ำหนักเบา แต่จุดเสียของเครื่องอ่านแบบนี้คือ หากแถบบาร์โค้ดติดอยู่บนพื้นผิวที่ไม่เรียบ ทำให้เครื่องอ่านไม่สามารถอ่านได้อย่างถูกต้อง
- เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์เครื่องอ่านแบบนี้เป็นเครื่องอ่านที่มีการใช้แพร่หลายมากที่สุด จุดดีของเครื่องอ่านแบบนี้ คือสามารถที่จะอ่านแถบบาร์โค้ดได้ ถึงแม้ว่าจะติดอยู่บนพื้นผิวที่ไม่เรียบ เนื่องจากว่า เครื่องอ่านแบบนี้จะประกอบด้วยลำแสงเลเซอร์จำนวนมาก เลเซอร์แต่ละลำแสงสามารถที่จะอ่านแถบบาร์โค้ดได้ด้วยความเร็ว 40 – 800 ครั้งต่อวินาที ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ลำแสงบาร็โค้ดเพียงลำแสงเดียวเท่านั้น ก็สามารถที่จะอ่านแถบบาร์โค้ดได้ จากการที่เครื่องอ่านแบบนี้สามารถที่จะอ่านแถบบาร์โค้ดได้รวดเร็ว เครื่องอ่านแบบนี้จะนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรม เครื่องอ่านแบบนี้สามารถที่จะทำเป็นเครื่องอ่านแบบติดตั้งอยู่กับที่ สำหรับการอ่านวัตถุที่มีการเคลื่อนที่ เช่น บนสายพานลำเลียงสินค้า เป็นต้น ด้วยเครื่องอ่านแบบนี้ ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายวัตถุ ในบางกรณีาเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบนี้สามารถอ่านแถบบาร์โค้ดที่อยู่ในระยะไกลถึง 9เมตรได้
- เครื่องอ่านแบบ CCD เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบนี้ใช้วิธีการจับภาพแถบบาร์โค้ดหลังจากการจับภาพของแถบบาร์โค้ด เครื่องอ่านก็จะทำการปรับภาพดังกล่าว เป็นข้อมูลที่เป็นแบบดิจิตอลเหมือนเช่นบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ จุดเสียของเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบนี้ คือ เครื่องอ่านแบบนี้ไม่สามารถอ่านแถบบาร์โค้ดที่มีความยาวมากได้ เนื่องจากข้อจำกัดในการจับภาพ
- เครื่องอ่านแบบกล้อง กล้องขนาดเล็กที่ซ่อนอยู่ในเครื่องอ่านกล้องขนาดเล็กนี้จะทำการจับภาพบาร์โค้ด และทำการประมวลผล แต่เครื่องอ่านแบบนี้จะอ่อนไหวต่อคุณภาพของแถบบาร์โค้ดอย่างมาก เช่น แถบบาร์โค้ดควรจะมีความแตกต่างสีขาวและดำอย่างชัดเจน ห้ามมีจุดดำอื่นใดบนแถบบาร์โค้ด
ประโยชน์ของเทคโนโลยีบาร์โค้ด
- รวดเร็วและแม่นยำในการเก็บข้อมูลเทคโนโลยีบาร์โค้ดทำให้การเก็บข้อมูลเป็นไปอย่างอัตโนมัติ การอ่านข้อมูลโดยเครื่องอ่านบาร์โค้ดทำให้มีความแม่นยำ จากการศึกษาพบว่า ข้อผิดพลาดมีเพียงหนึ่งในสามล้านครั้ง
- การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ข้อมูลที่ได้รับจากเครื่องอ่านบาร์โค้ดสามารถส่งต่อให้กับระบบการทำงาน เพื่อให้กระบวนการทำงานสามารถดำเนินการได้อย่างอัตโนมัติ เช่นระบบเข้า-ออกสำนักงานของพนักงาน
- ลดค่าใช้จ่ายในการทำงานการเก็บข้อมูลด้วยเทคโนโลยีบาร์โค้ดทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูล เนื่องจาการเก็บข้อมูลที่ผิดพลาด เป็นต้น
ข้อจำกัดของเทคโนโลยีบาร์โค้ด
อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีบาร์โค้ดก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง ได้แก่
- เสียหายง่ายแถบบาร์โค้ดเสียหายได้ง่าย เพียงแค่มีรอยเปื้อนสกปรก แถบสี หรือสีจางไปเมื่อถูกแสงแดด หรือความชื้น
- เครื่องอ่านบาร์โค้ดมีข้อจำกัดในการทำงานเมื่อนำเครื่องอ่านบาร์โค้ดไปใช้งานในสภาพแวดล้อมที่เปียกชื้น คลื่นแสงที่ใช้ในการอ่านจะถูกหักเหง่าย เมื่อแถบบาร์โค้ดมีการเปียกชื้น ด้วยสาเหตุดังกล่าวทำให้การอ่านข้อมูลในแถบบาร์โค้ดผิดพลาดได้
- ขณะการอ่านแถบบาร์โค้ดจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเห็นแถบบาร์โค้ด หากแถบบาร์โค้ดถูกปิดบัง ทำให้ไม่สามารถที่จะอ่านข้อมูลได้
- ความเร็วเครื่องอ่านบาร์โค้ดไม่สามารถที่จะอ่านแถบบาร์โค้ดที่เคลื่อนที่ด้วยความรวดเร็ว ดังนั้นหากแถบบาร์โค้ดติดอยู่บนวัตถุที่เคลื่อนไหวด้วยความรวดเร็ว จะมีผลทำให้ความแม่นยำในการอ่านต่ำลง